รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดเกาะยาง

ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดเกาะยาง
ชื่อผู้ศึกษา : นางสาวกาญจนา ชูทับ
ปีที่ศึกษา 2563

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนวัดเกาะยาง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดาเนินงานตามโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนวัดเกาะยาง ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้จากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling Technique) จานวน 57 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง จานวน 34 คน และ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3- 6 ปีการศึกษา 2563 จานวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จานวน 10 ฉบับ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (X –bar ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ
ผลการประเมิน พบว่า

  1. ผลการประเมินบริบทการดาเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนวัดเกาะยาง ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X –bar = 4.57 , S.D. = 0.53) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
  2. ผลการประเมินปัจจัยนาเข้าของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนวัดเกาะยาง ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X –bar = 4.57 , S.D. = 0.62) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
  3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนวัดเกาะยาง ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X –bar = 4.60 , S.D. = 0.51) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
  4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนวัดเกาะยาง
    4.1 ผลการประเมินกิจกรรมโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X –bar = 4.59 , S.D. = 0.53)
    4.2 ผลการประเมินนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X –bar = 4.60 , S.D. = 0.53)
    4.3 ผลการประเมินพฤติกรรมนักเรียนในการเรียนที่เกิดจากโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X –bar = 4.63 , S.D. = 0.53)
    4.4 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน ที่มีต่อการดาเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน
    4.4.1 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู ที่มีต่อการดาเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X –bar = 4.64 , S.D. = 0.52)
    4.4.2 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดาเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X –bar = 4.63 , S.D. = 0.51)
    4.4.3 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการดาเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X –bar = 4.65 , S.D. = 0.51)
    4.4.4 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อการดาเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X –bar = 4.66 , S.D. = 0.50)

ข้อเสนอแนะ

  1. ด้านบริบท
    1.1 โรงเรียนควรกาหนดแผนปฏิบัติงานประจาปีที่ชัดเจน และสอดคล้องกับนโยบายในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
    1.2 โรงเรียนควรมีการกาหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายกิจกรรมการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่ชัดเจน
    1.3 โรงเรียนควรมีการประเมินโครงการ เพื่อนาผลมาปรับปรุงโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
    1.4 โรงเรียนควรจัดให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการดาเนินการในกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน เพื่อให้โครงการเกิดผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น
  2. ด้านปัจจัยนาเข้า
    2.1 ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจรูปแบบกิจกรรมและร่วมวางแผน
    2.2 ห้องสมุดควรจัดหาทรัพยากรในห้องสมุด รักษาให้มีสภาพพร้อมใช้ และเป็นแหล่งเรียนรู้สาหรับนักเรียนได้
    2.3 ห้องสมุดควรจัดหาทรัพยากรในห้องสมุดให้มีความเพียงพอ และตรงกับความต้องการของนักเรียน
    2.4 สถานศึกษาควรจัดหางบประมาณที่ใช้ในการดาเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้มีความเพียงพอ และเหมาะสม
    2.5 ผู้บริหารสถานศึกษาควรระดมปัจจัยการดาเนินงาน ได้แก่ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณจากหน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่น สนับสนุนโครงการให้มีความพร้อมมากขึ้น
  3. ด้านกระบวนการ
    3.1 โรงเรียนควรกาหนดคาสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน
    3.2 โรงเรียนควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างต่อเนื่อง
    3.3 โรงเรียนควรมีการประกวด หรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างต่อเนื่อง
    3.4 โรงเรียนควรมีการพัฒนาโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างต่อเนื่อง
  4. ด้านผลผลิต
    4.1 ครูผู้สอนควรมีการติดตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และมีการวัดทักษะการอ่านหลังจากการเข้าร่วมโครงการ
    4.2 ครูผู้สอนควรมีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับพัฒนาการการอ่าน การเขียนของนักเรียนและมีข้อมูลนักเรียนรายบุคคล

ข้อเสนอแนะในกำรประเมินครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาปัจจัยทั้งภายใน และภายนอกที่ส่งผลต่อการดาเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนวัดเกาะยาง
2. ควรมีการประเมินโครงการอื่น ๆ ของโรงเรียนโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศสาหรับตัดสินใจในการดาเนินโครงการต่อไป
3. ควรมีการวิจัยเพื่อพัฒนาครูด้านการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนในโรงเรียน เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจ เห็นความสาคัญของการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน สามารถนาไปใช้ บูรณาการในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ควรมีการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนในทุก ๆ ปี เพื่อนาผลการประเมินมาพัฒนาและปรับปรุงโครงการให้ดีขึ้นต่อไป

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *