ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการใฝ่รู้ใฝ่เรียน ของนักเรียนโรงเรียนวัดพังดาน
ชื่อเจ้าของผลงาน : นายคุณากร ชูสง
ปีที่ศึกษา : 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดพังดาน ปีการศึกษา 2563 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน และ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประชากรที่ประเมินประกอบด้วย ครู จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน ผู้ปกครองเครือข่าย จำนวน 40 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 จำนวน 21 คน รวมประชากรทั้งสิ้น 75 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ชุด การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือใช้ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) การหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (α-Coefficeient) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (µ) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน () ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
- ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดพังดานปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ= 4.668 , = 0.124 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
- ผลการประเมินด้านปัจจัยของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดพังดานปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ= 4.726 , = 0.124 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
- ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดพังดานปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ= 4.714 , = 0.115 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
- ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดพังดานปีการศึกษา 2563 พบว่า
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ= 4.745 , = 0.170 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินความสำเร็จของโครงการ ตามกิจกรรม พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ= 4.730 , = 0.162 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินโครงการตามความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองเครือข่ายโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ= 4.771 , = 0.137 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินโครงการตามความพึงพอใจของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ= 4.733 , = 0.193 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
- ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ต้องพัฒนาโรงเรียนโดยกายมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของ
1.2 จัดแบ่งเขตรับผิดชอบในการดูแลอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาให้คงสภาพที่ดีขึ้นตลอดเวลา
1.3 จัดเจ้าหน้าที่หรือคณะกรรมการประเมินด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
1.4 อาจจัดกิจกรรมประกวดด้านอาคารสถานที่ แต่ละเขตเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้รับผิดชอบได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง - ข้อเสนอในการประเมินครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินเปรียบเทียบระหว่างผู้รับผิดชอบแต่ละกลุ่ม
2.2 ควรมีการประเมินเปรียบเทียบความพึงพอใจของแต่ละกลุ่มว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่
2.3 ควรมีการประเมินการคงสภาพอย่างน้อย 2 ปีการศึกษาต่อหนึ่งครั้ง เพื่อเป็นการเน้นย้ำให้การดำเนินงานตามโครงการที่ประสบความสำเร็จ ได้มีความยั่งยืนตลอดไป ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างแท้จริง